วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 10 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554

มุมที่ดีคือ
  • การจัดมุมประสบการณ์ที่ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ โดยสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างเอิบอาบไปด้วยภาษาได้ตลอดเวลา

ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา

  • เริ่มจากตัวเด็กก่อน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
  • สอนแบบเป็นธรรมชาติ
  • สอนอย่างมีความหมาย
  • สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
  • สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้
  • ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน

ควรสอนอ่านก่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่1 หรือไม่

ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้

  • เป็นความปรารถนาจาดตัวเด็ก
  • วิธีการเหมาะสมกับตัวเด็ก
  • เด็กมีความพร้อมที่จะอ่าน
  • เด็กได้ใช้การอ่านเพื่อเสริมประสบการณ์
  • ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ

ไม่ควร ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามนี้

  • สอนโดยใช้แบบฝึกหัดเป็นประจำ การท่องจำ การระบายสีตามลายเส้น
  • คาดหวังให้เด็กทำตามเหมือนกันทุกคน
  • เน้นความเงียบ
  • จัดกลุ่มและเรียกเด็กตามความสามารถในการอ่าน
  • สอนแยกแต่ละทักษะออกจากกัน
  • สอนโดยถูกบีบบังคับจากผู้ปกครอง
  • ครูไม่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการสอนที่เหมาะกับเด็กอนุบาล

เทคนิคที่ไม่ควรนำมาใช้สอนภาษา

  • เน้นความจำ
  • เน้นการฝึก
  • ใช้การทดสอบ
  • สอนแต่ละทักษะแยกจากกัน
  • การตีตราเด็ก
  • ใช้แบบฝึกที่เป็นกระดาษและดินสอ เส้นจุดปะ
  • ไม่ยอมรับความผิดพลาด
  • สอนภาษาเฉพาะในเวลาที่กำหนด
  • ช่วงการสอนภาษาจะจำกัดและให้เป็นช่วงเงียบๆไม่ใช้เสียง
  • จำกัดวัสดุ อุปกรณ์อาจเหลือเพียงแบบฝึกดินสอ หนังสือ แบบเรียน
  • ทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ

เทคนิคที่ควรนำมาใช้สอนภาษา

  • สอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ
  • สอนสิ่งที่มีความหมายสำหรับเด็ก
  • สอนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้
  • บูรณาการเข้ากับสาขาวิชาอื่น
  • ให้โอกาสเด็กทุกคนเรียนรู้ภาษา
  • ใช้ความคิดและถ้อยคำของเด็ก
  • ยอมรับการคาดเดาของเด็ก
  • ให้โอกาสเด็กอย่างมากมายในการใช้ทักษะต่างๆ
  • จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
  • ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนาน

ตัวอย่างกิจกรรมการสอนภาษา

  • เด็กได้ยินอะไร > ฟังเสียงจากนาฬิกา กลอง
  • เดาซิฉันคือใคร ? ฯลฯ > ทายปัญหา ฉันตัวใหญ่ จมูกยาว
  • ใครหายไป ? > หาคนที่ชื่อขึ้นต้นด้วย...
  • กล่องความรู้สึก
  • เหมือน/แตกต่าง

ครั้งที่ 9 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

การอ่าน
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรม เกี่ยวกับการอ่านรวมกับผู้ใหญ่และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวรสอบความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
จุดสำคัญ การส่งเสริมและพัฒนาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟังในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือและพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพ หรือตัวหนังสือ
ขั้นตอนในการพัฒนาในการอ่าน
ขั้นแรก อ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ
ขั้นสอง ผู้เรียนจะผูกพันกับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้ หรืออ่านได้ถูกต้องและเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวอักษร
ขั้นสาม แยกแยะการใช้ตัวอักษรตลอดจนระเบียบแผนของตัวอักษร จะเริ่มอ่านเขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของการอ่านในเด็กปฐมวัย ในขณะเดียวกันเด็กเริ่มรู้จักรูปร่างและระบบของตัวอักษรมากขึ้น
ขั้นสุดท้าย ระบบของตัวอักษร คือ เป้าหมายสุดท้ายในการอ่าน

ครั้งที่ 8 วันที่ 25 มกราคม 2554

นักทฤษฎี
ไว กอตสกี
การเรียนรู้ภาษาของเด็ก เกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้เคียง เช่น พ่อแม่ เพื่อน และครู บริบทหรือสิ่งต่างๆรอบตัวมีอิทธิพลต่อเด็กในการช่วยเหลือให้ลงมือทำเป็นขั้นตอนผ่านการเล่นและกิจกรรม นำไปสู่การเรียนรู้ภาษาผ่านการใช้สัญลักษณ์
ฮอลลิเดย์
บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลาย มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก เด็กอาจจะเป็นผู้ใช้ภาษาในการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการเรียนรู้
กู๊ดแมน
ภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษา
การอ่านและการเขียนทำให้เด็กรู้คำศัพท์ ขนาดอ่านให้เด็กฟังการชี้นิ้วตามตัวอักษรประกอบไปด้วย

ครั้งที่ 7 วันที่ 14 ธันวาคม 2553

หนังสือเล่มเล็ก





ครั้งที่ 6 วันที่ 7 ธันวาคม 2553

อาจารย์เสาวลักษณ์ ได้มาสอนแทนซึ่งได้มอบหมายงานให้ทำ คือ ทำหนังสือปริศนาคำทายเล่มใหญ่